วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

แหล่งท่อง่ที่ยวที่สวยที่สุดในโลก


โอซะก้า







โอซะก้า (ญี่ปุ่น: ) เป็นนครในภาคคันไซของเกาะฮนชู ตั้งอยู่ในจังหวัดโอซะกะ จัดเป็นนครในเขตเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 2 และเป็นนครที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 3 ของประเทศญี่ปุ่น และเป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดของสามนครใหญ่เคฮันชิง ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นนั้นได้จัดตั้งให้เป็นหนึ่งในหลายเมืองของประเทศที่มีเขตการปกครองรูปแบบพิเศษ
เมืองโอซะกะมีประชากรทั้งหมดประมาณ 2.7 ล้านคน แต่ในช่วงเวลาทำงานจะเพิ่มขึ้นเป็น 3.7 ล้านคน ซึ่งเป็นรองเพียงแต่โตเกียวเท่านั้น อัตราส่วนประชากรกลางวันต่อกลางคืนเท่ากับ 141 เปอร์เซ็นต์ นครตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำโยะโดะ อ่าวโอซะกะ และทะเลเซะโตะ
โอซะกะเป็นเป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์ ทั้งการค้าและวัฒนธรรมเมืองหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น มีสมญาว่า ครัวของชาติ (天下の台所 Tenka no Daidokoro ?) เพราะเป็นศูนย์กลางการค้าข้าวของญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยเอะโดะ และปัจจุบันเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมเมืองหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น



ยุคก่อนประวัติศาสตร์ถึงยุคโคะฟุง[แก้]

หลักฐานการตั้งถิ่นฐานในเขตโอซะกะ คือ บริเวณแหล่งประวัติศาสตร์โมริโนะมิยะ (森の宮遺跡 Morinomiya iseki) มีการค้นพบสุสานหอยนางรมและโครงกระดูกมนุษย์ในสมัย 500-600 ปีก่อนคริสตกาล เชื่อกันว่า บริเวณที่ชื่ออุเอะฮงมิยะในทุกวันนี้น่าจะเป็นคาบสมุทรและมีทะเลในแผ่นดินทางตะวันออก ในสมัยยะโยะอิ มีการค้นพบการตั้งถิ่นฐานถาวรเป็นครั้งแรก ในบริเวณที่ราบของโอซะกะ โดยยึดการปลูกข้าวเป็นอาชีพหลัก
ในยุคโคะฟุง โอซะกะได้รับการพัฒนาเป็นท่าเรือเชื่อมต่อดินแดนทางตะวันตกของญี่ปุ่น มีการค้นพบสุสานที่บริเวณพื้นที่ราบของโอซะกะจำนวนมาก เป็นหลักฐานของความมั่นคงทางการเมือง นำไปสู่การสร้างประเทศในเวลาต่อมา[1]

ยุคอะซุกะและยุคนะระ[แก้]

ในปี พ.ศ. 1188 จักรพรรดิโคโตะกุได้สร้างพระราชวังชื่อ นะนิวะ นะงะระ-โทะโยะซะงิ ขึ้นที่โอซะกะ[2] และได้เนรมิตให้พื้นที่แห่งนี้เป็นเมืองหลวง(กรุงนะนิวะ) พื้นที่แห่งนี้ได้กลายเป็นเมืองใหม่ในสมัยนั้นและมีชื่อว่า นะนิวะ และชื่อนี้ก็ยังมีการใช้กันในปัจจุบัน เป็นการเรียกชื่อใจกลางของโอซะกะว่า นะนิวะ(浪速) และกร่อนมาเป็น นัมบะ (難波) ในทุกวันนี้ แม้จะมีการย้ายเมืองหลวงไปที่อะซุกะ (ในจังหวัดนะระในปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. 1198 นะนิวะก็ยังเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อทั้งทางบกและทางทะเลระหว่างยะมะโตะ (จังหวัดนะระ) เกาหลี และ จีน[3]
ในปี พ.ศ. 1287 นะนิวะได้กลายมาเป็นเมืองหลวงอีกครั้งหนึ่งตามคำสั่งของจักรพรรดิโชมุ แต่ได้เป็นเมืองหลวงถึงปี พ.ศ. 1288 ราชสำนักก็ย้ายกลับไปที่เฮโจ (ปัจจุบันคือ นะระ) อีกครั้ง ในปลายยุคนะระ ท่าเรือจึงค่อยๆกลายเป็นที่พักอาศัยของชาวเดินเรือ แต่ยังคงมีความคึกคักตามบริเวณแม่น้ำ คลอง และเส้นทางการคมนาคมทางบกไปยังกรุงเฮอัน (ปัจจุบันคือ เคียวโตะ) และเมืองอื่น ๆ

ยุคเฮอันถึงยุคเอะโดะ[แก้]

ในปี พ.ศ. 2039 มีการก่อตั้งศาสนาพุทธ นิกายโจโดะชินชู โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่อิชิยะมะฮงกันจิ บนพื้นที่ส่วนหนึ่งของพระราชวังนะนิวะ ไดเมียวโอะดะ โนะบุนะงะ หนึ่งในสามผู้รวมประเทศญี่ปุ่นเริ่มโอบล้อมวัดในปี พ.ศ. 2113 หลังจากอีกสิบปี พระในวัดก็ยอมจำนน และวัดก็ถูกทำลายลงอย่างราบคาบ ไดเมียวโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ จึงได้สร้างปราสาทโอซะกะขึ้นแทนในที่แห่งนั้น
โอซะกะเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญของญี่ปุ่นมาอย่างยาวนาน[4] มีประชากรที่เป็นชนชั้นพ่อค้าในสัดส่วนที่สูง โดยในยุคเอะโดะ (พ.ศ. 2146 - พ.ศ. 2410) โอซะกะเติบโตไปเป็นเมืองใหญ่ของญี่ปุ่นและกลับมาเป็นเมืองท่าที่คึกคักอีกครั้ง วัฒนธรรมของโอซะกะมีความเกี่ยวข้องกับภาพอุกิโยะ อันเป็นภาพวาดที่มีชื่อเสียงในยุคเอะโดะ โดยในปี พ.ศ. 2323 โอซะกะเป็นแหล่งวัฒนธรรม มีชื่อเสียงด้านการแสดงของโรงละครคะบุกิและละครหุ่นบุนระคุ
ในปี พ.ศ. 2380 โอชิโอะ เฮฮะชิโร ซามูไรชั้นผู้น้อย ได้นำกลุ่มชาวนาก่อการกบฏขึ้นเพื่อประท้วงผู้ปกครองเมืองที่เฉยเมยต่อคนจนและครอบครัวที่ตกต่ำในพื้นที่เหล่านี้ พื้นที่เมืองเกือบ 1 ใน 4 ถูกเผาทำลายจากการกบฏในครั้งนั้น ก่อนที่เจ้าหน้าที่จากโชกุนจะปราบกบฏลงได้ และโอชิโอะก็ตัดสินใจปลิดชีพตัวเองในเวลาต่อมา
รัฐบาลโชกุนเปิดให้โอซะกะเป็นเมืองที่เปิดรับการค้ากับต่างประเทศเช่นเดียวกับเฮียวโงะ (ปัจจุบันคือ โคเบะ) ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2411 ก่อนการคืนสู่ราชบัลลังก์ของจักรพรรดิเมจิเพียงเล็กน้อย

โอซะกะยุคใหม่[แก้]


บริเวณเซนนิชิมะเอะ ในปี พ.ศ. 2459
กฤษฎีการัฐบาลได้ก่อตั้งโอซะกะให้เป็นเมืองที่มีการปกครองพิเศษ ในฐานะเมืองอันตั้งขึ้นโดยข้อบังคับ ในปี พ.ศ. 2432[5] มีพื้นที่เริ่มต้น 15 ตารางกิโลเมตร คือบริเวณเขตชูโอะและนิชิในปัจจุบัน ต่อมา เมืองได้ขยายตัวจนมีพื้นที่ 222 ตารางกิโลเมตรอย่างในปัจจุบัน โอซะกะเป็นศูนย์กลางทางอุตสาหกรรมอย่างชัดเจนในช่วงการพัฒนาเศรษฐกิจตามระบบทุนนิยมของญี่ปุ่น การเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ทำให้ชาวเกาหลีหลายคนอพยพเข้ามาตั้งตัว ระบอบการปกครองจึงเป็นแบบผสมโดยให้ความสำคัญด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรมและการพัฒนาเมืองไปสู่ความเจริญ อัตราการรู้หนังสือเพิ่มขึ้น และระบบการศึกษาขยายตัวอย่างรวดเร็ว เกิดเป็นกลุ่มชนชั้นกลางที่รู้หนังสือและมีความชื่นชอบในงานศิลปะ
แต่ในอีกมุมหนึ่งของการเจริญเติบโต โอซะกะก็มีสลัม คนว่างงาน และคนจน เช่นเดียวกับในยุโรปและอเมริกา เทศบาลนครโอซะกะจึงจัดตั้งระบบจ่ายเงินช่วยเหลือเพื่อเยียวยาคนจนขึ้น โดยใช้แบบฉบับมาจากอังกฤษ ผู้ร่างนโยบายของโอซะกะได้ให้ความสำคัญกับการสร้างครอบครัวและการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการต่อสู้กับความยากจน ซึ่งเป็นวิธีการที่จะช่วยลดงบประมาณของนโยบายเปลี่ยนแปลงเมืองไปสู่ความร่ำรวย [6]
อย่างไรก็ตาม โอซะกะก็เสียหายอย่างหนักจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อกองทัพอเมริกันได้ทิ้งระเบิดใส่พื้นที่ต่างๆของโอซะกะในช่วงปีสุดท้ายของสงคราม ประชาชนไร้ที่อยู่อาศัยและอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายอย่างหนัก แต่เมืองก็กลับคืนสู่สภาพเดิมได้อย่างรวดเร็วหลังสิ้นสุดสงคราม และกลับมาเป็นเมืองศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมและวัฒนธรรมได้อีกครั้งอย่างรวดเร็ว[7]

ที่มาของชื่อ[แก้]

"โอซะกะ" หมายถึง เนินเขาใหญ่ ในสมัยก่อน โอซะกะเป็นที่รู้จักกันในชื่อ นะนิวะ และไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าเปลี่ยนเป็นโอซะกะตั้งแต่เมื่อใด แต่มีหลักฐานพบการเรียกชื่อเมืองว่าโอซะกะจากข้อความที่ปรากฏในหนังสือ ปี ค.ศ. 1496 ในสมัยก่อน โอซะกะ เขียนเป็นคันจิว่า 大坂 แต่คันจิตัวหลังมักอ่านผิดเป็น 士反 ซึ่งมีความหมายว่า กบฏซามูไร เป็นความหมายที่ไม่ค่อยจะดีนัก ในสมัยปฏิรูปเมจิ ปี ค.ศ. 1870 จึงได้มีการเปลี่ยนคันจิของโอซะกะใหม่เป็น 大阪 และใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน และคันจิตัวหลัง คือ 阪 (อ่านออกเสียงแบบอนโยมิว่า ฮัน) ก็ใช้กันอย่างกว้างขวางว่ามีความหมายถึงเมืองโอซะกะ และจังหวัดโอซะกะเท่านั้น

สภาพทางภูมิศาสตร์และภูมิอากาศ[แก้]

ภูมิศาสตร์[แก้]

เมืองโอซะกะตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำทางตะวันตกของแม่น้ำโยะโดะ ริมอ่าวโอซะกะ ล้อมรอบด้วยเมืองเล็กกว่าสิบเมืองในจังหวัดโอซะกะ มีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 13 ของจังหวัดโอซะกะ โดยสมัยก่อตั้งเมืองในปี 1880 เมืองแบ่งออกเป็นสองเขตเท่านั้นคือ ชูโอะ และ นิชิ มีพื้นที่เพียง 15.27 ตารางกิโลเมตร และปัจจุบัน เมืองเติบโตจนมีพื้นที่ 222.30 ตารางกิโลเมตร โดยการเติบโตที่รวดเร็วที่สุดเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1925 เมื่อเมืองได้มีการขยายพื้นที่ออกไปอีก 126.01 ตารางกิโลเมตร จุดที่สูงที่สุดของเมืองโอซะกะอยู่ในเขตสึรุมิ ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 37.5 เมตร และจุดที่ต่ำที่สุด อยู่ที่เขตนิชิโยะโดะงะวะ ความสูงต่ำกว่าระดับน้ำทะเล 2.2 เมตร[8]

ภูมิอากาศ[แก้]

โอซะกะ เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (CFA ตามระบบการแบ่งภูมิอากาศของเคิปเปน) มี 4 ฤดูกาลแบ่งแยกกันชัดเจน ในหน้าหนาวในอากาศหนาว อุณหภูมิลดลงต่ำสุดในเดือนมกราคม เฉลี่ย 9.3 องศาเซลเซียส โอซะกะเป็นเมืองที่ไม่ค่อยจะมีหิมะตกในช่วงฤดูหนาว ส่วนในฤดูใบไม้ผลิ มีอากาศเย็น แต่จะค่อยๆร้อนและชื้นมากขึ้น จนเข้าสู่ช่วงฤดูฝนในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนกรกฎาคม จากนั้น หน้าร้อนจะมีอากาศร้อนและชื้น ในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม อุณหภูมิเฉลี่ยในช่วงกลางวันอยู่ที่ 35 องศาเซลเซียส ขณะที่อุณหภูมิเฉลี่ยในช่วงกลางคืนอยู่ที่ 25 องศาเซลเซียส ฤดูใบไม้ร่วงที่เมืองโอซะกะค่อนข้างเย็น โดยช่วงต้นฤดูจะคล้ายกับฤดูร้อน และปลายฤดูจะคล้ายกับฤดูหนาว

แหล่งซื้อสินค้าและอาหาร[แก้]

โอซะกะเป็นแหล่งค้าส่งและค้าปลีกขนาดใหญ่ มีร้านค้าส่ง 25,228 ร้านและร้านค้าปลีก 34,707 ร้านในปี พ.ศ. 2547[20] ร้านค้าส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตชูโอะ (10,468 ร้าน) และเขตคิตะ (6,335 ร้าน) มีร้านค้าหลายรูปแบบตั้งแต่โชเตงไก(商店街)แบบดั้งเดิมไปจนถึงห้างสรรพสินค้าบนดินและใต้ดิน โชเตงไกเป็นรูปแบบของร้านแบบดั้งเดิมที่พบได้ทั่วญี่ปุ่น และโอซะกะมีโชเตงไกที่ยาวที่สุดในโลกอยู่ที่ เทนจินบะชิ ความยาว 2.6 กิโลเมตร ขายสินค้าหลากหลายตั้งแต่ของใช้ภายในบ้าน เสื้อผ้า ตลอดจนอาหารเลี้ยงสัตว์
พื้นที่สินค้าอีกแห่งหนึ่งที่สำคัญคือ เดนเดนทาวน์ เป็นแหล่งรวมสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และการ์ตูน/อะนิเมะที่สำคัญของโอซะกะ คล้ายกับย่านอะกิฮะบะระของโตเกียว ส่วนย่านอุเมะดะเป็นแหล่งรวมห้างสรรพสินค้าและห้างโยะโดะบะชิคาเมร่า อันเป็นห้างสรรพสินค้าด้านอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าชื่อดังของญี่ปุ่น
โอซะกะ ขึ้นชื่อในเรื่องของเมืองอาหาร ทั้งอาหารญี่ปุ่นและจากนานชาติ โดยนักเขียนอย่างไมเคิล บูธ และฟรองซัวส์ ไซมอน นักวิจารณ์อาหารชื่อดังของหนังสือพิมพ์เลอฟิกาโร บอกว่า โอซะกะเป็นเมืองหลวงด้านอาหารของโลก[21] ผู้ที่ชื่นชอบอาหารโอซะกะคงจะเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า "เคียวโตะซื้อเสื้อผ้าขนหมดตัว โอซะกะซื้ออาหารจนหมดตัว"[22]
อาหารที่มีชื่อเสียงของโอซะกะคือ โอะโคะโนะมิยะกิ ทะโกะยะกิ อุดง และโอชิซูชิ




                                 http://th.wikipedia.janpan.com